รัฐฯ เล็งตั้ง หนึ่งตำบล หนึ่งกลุ่มอาชีพอิสระ สร้างหลักประกันแรงงาน 20 ล้านคน

รัฐบาล ผุดไอเดีย เล็งตั้ง “หนึ่งตำบล หนึ่งกลุ่มอาชีพอิสระ” สร้างหลักประกันให้ผู้ใช้แรงงานอิสระ 20 ล้านคน ทั้งเกษตรกร พ่อค้าแม่ค้า ฟรีแลนซ์ และไรเดอร์ส่งสินค้า อาหาร เพื่อสร้างรายได้และความมั่นคงในชีวิตของกลุ่มอาชีพอิสระและครอบครัว

“หนึ่งตำบล หนึ่งกลุ่มอาชีพอิสระ” เป็นอีกหนึ่งไอเดียของรัฐบาลชุดนี้ เพื่อสร้างหลักประกันให้ผู้ใช้แรงงานอิสระ 20 ล้านคน ทั้งเกษตรกร พ่อค้าแม่ค้า ฟรีแลนซ์  และไรเดอร์ส่งสินค้า อาหาร เพื่อสร้างรายได้และความมั่นคงในชีวิตของกลุ่มอาชีพอิสระและครอบครัว

รัฐฯ เล็งตั้ง หนึ่งตำบล หนึ่งกลุ่มอาชีพอิสระ สร้างหลักประกันแรงงาน 20 ล้านคน

นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ โฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพอิสระ ภายใต้นโยบาย “หนึ่งตำบล หนึ่งกลุ่มอาชีพอิสระ” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้กระทรวงแรงงานเป็นกระทรวงเศรษฐกิจ โดยมีตนเป็นประธานคณะทำงาน เนื่องจากมีประสบการณ์ใกล้ชิดกับประชาชนและเข้าใจบริบทของการทำงานในพื้นที่เป็นอย่างดี และมีผู้แทนส่วนราชการของกระทรวงแรงงานร่วมเป็นคณะทำงาน

ทั้งนี้ รมว.แรงงานต้องการสร้างต้นแบบและส่งเสริมการพัฒนากลุ่มอาชีพอิสระแบบครบวงจรในทุกตำบล ตั้งแต่การขึ้นทะเบียน การพัฒนาฝีมือและผลิตภัณฑ์ เงินกู้เพื่อประกอบอาชีพ การประกันสังคม และการเชื่อมโยงไปสู่ผู้ซื้อ เพื่อสร้างรายได้และความมั่นคงในชีวิตของกลุ่มอาชีพอิสระและครอบครัว

รัฐฯ เล็งตั้ง หนึ่งตำบล หนึ่งกลุ่มอาชีพอิสระ สร้างหลักประกันแรงงาน 20 ล้านคน

โดยเน้นย้ำเรื่องมาตรฐานของสินค้าเพื่อยกระดับให้มีคุณภาพและราคาที่สูงขึ้น พร้อมทั้งจะประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และอื่น ๆ เพื่อจัดหาตลาด เช่น ตลาดสาขาขององค์การตลาด งานแสดงสินค้าที่จัดขึ้นตลอดทั้งปี และแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าให้มากขึ้น

ปัจจุบันประเทศไทยมีแรงงานอิสระถึง 20 ล้านคน ครอบคลุมหลากหลายอาชีพ เช่น เกษตรกร พ่อค้าแม่ค้า ผู้รับจ้างหรือให้บริการ ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ผู้ให้บริการขนส่งคน สิ่งของ อาหาร ทำความสะอาด หรืออื่น ๆ ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล หรือไรเดอร์

ดังนั้นการดูแลคนกลุ่มนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งกระทรวงแรงงานกำลังเร่งผลักดันร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานอิสระ พ.ศ. …เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ถือเป็นมิติใหม่ของกฎหมายแรงงานที่สอดคล้องกับลักษณะการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป

โดยมีสาระสำคัญที่เรียกง่าย ๆ ว่า “มาตรการ 6 ก” คือ

1. กำหนดนิยามแรงงานอิสระให้ชัดเจน

2. กำหนดหน้าที่ให้มีการส่งเสริมการมีงานทำ พัฒนาทักษะฝีมือ มีสภาพการทำงาน และสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสม

3. การขึ้นทะเบียนแรงงานอิสระ ส่งเสริมการรวมกลุ่ม

4. กลไกขับเคลื่อนตั้งคณะกรรมการส่งเสริม คุ้มครอง ติดตามตรวจสอบ และประเมินผล

5. กองทุนหมุนเวียนเป็นแหล่งเงินกู้เพื่ออาชีพ ประกันชีวิตและสุขภาพ และ

6. การคุ้มครอง มีพนักงานตรวจแรงงานอิสระ รับเรื่องร้องเรียน ดำเนินคดี ช่วยเหลือแรงงานอิสระ

โดยเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว จะนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาต่อไป