ร้านยากรุงเทพ ตั้งเป้าขยายสาขา ดึงเทคโนโลยีช่วยเภสัชกรดูแลสุขภาพ

ร้านขายยา” เป็นธุรกิจที่มีความเติบโตอย่างต่อเนื่อง ยิ่งในช่วงโควิด-19 อัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะร้านขายยาออนไลน์ ปี 2566 ตลาดยาในประเทศไทยโต 6 % จากปี 2565 โดยตลาดนี้มีช่องทางหลักมาจากยาในโรงพยาบาลที่มีมูลค่ามากถึง 174,000 ล้านบาท และร้านขายยามูลค่า 38,000 ล้านบาท

การเติบโตของร้านขายยา ส่วนหนึ่งมาจากผู้ป่วยต่างชาติกลับเข้ามาใช้บริการโรงพยาบาลในไทยเพื่อรักษามากขึ้น และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความสนใจเรื่องสุขภาพ ส่วนปี 2567 คาดการณ์ว่า ตลาดยามีมูลค่า 225,000 ล้านบาท เติบโต 6.1% มีมูลค่าจากช่องทางโรงพยาบาล 180,000 ล้านบาท และร้านขายยา 45,000 ล้านบาท

“ร้านยากรุงเทพ” อีกหนึ่งธุรกิจร้านขายยาที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีทั้งหมด 104 สาขา ทั่วกรุงเทพและปริมณฑล โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2541 และมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นร้านยาสำหรับชุมชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

คลิก !!“แอปฯ ร้านยาออนไลน์” หาหมอ อยู่บ้านก็ตรวจสุขภาพ ปรึกษาได้ทุกที่

“บิ๊กคอร์ป”รุกธุรกิจร้านขายยา ดึงพันธมิตร-เทคโนฯทำตลาด

ร้านขายยาสำหรับชุมชน

“ชูวิทย์ วัยศิริโรจน์” รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพดรักสโตร์ จำกัด ให้สัมภาษณ์ “กรุงเทพธุรกิจ”ว่า ธุรกิจร้านขายยามีการเติบโตอย่างมากในช่วงโควิด-19 แต่ในปี 2565 กลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยมีอัตราการเติบโตลดลงจากช่วงโควิด 10 % และถ้าเทียบกับก่อนโควิด เพิ่มขึ้นประมาณ 30 % ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจร้านขายยาเติบโตเพิ่มขึ้น เนื่องจากตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ผู้คนหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพมากขึ้น

ขณะเดียวกันภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็สนับสนุนธุรกิจเฮลท์แคร์ (Healthcare)รวมถึงแพลตฟอร์มการบริการทางแพทย์เพื่อช่วยเหลือประชาชน และให้ประชาชนได้รับการเข้าถึงการรับบริการทางการแพทย์ ดูแลผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว

ร้านยากรุงเทพ ตั้งเป้าขยายสาขา  ดึงเทคโนโลยีช่วยเภสัชกรดูแลสุขภาพ

“โลกดิจิทัล และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เข้ามา ทำให้ผู้คนได้เรียนรู้มากขึ้น รวมทั้งตลาดอีคอมเมิร์ชเติบโตมากขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคนิยมการซื้อขายสินค้า บริการผ่านออนไลน์ และการพัฒนาด้านTelehealth ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนส่งผลให้ธุรกิจร้านขายยาต้องปรับตัว นำเทคโนโลยี ระบบไอทีมาช่วยในการทำงาน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงยาได้ดียิ่งขึ้น” ชูวิทย์ กล่าว

บริการดูแลสุขภาพตลอด24ชม.

“ร้านยากรุงเทพ” เป็นธุรกิจร้านขายยามา 26 ปี เกิดขึ้นจากแนวคิดที่จะดูแลสุขภาพเบื้องต้นให้กับผู้คนในละแวกใกล้เคียงด้วยมาตรฐานเดียวกัน ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อแบ่งเบาภาระโรงพยาบาล โดยได้นำระบบไอทีมาช่วยในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบที่เรียกว่า “Health Tech Community Pharmacy” เพื่อลดโอกาสผิดพลาด และเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น

นอกจากนั้นการบริหารร้านยาด้วย LEAN เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะเมื่อธุรกิจเติบโตมีการขยายสาขาและทีมงานมากขึ้น จำเป็นจะต้องมีการปรับระบบคลังสินค้าใหม่ โดยจัดเรียงผลิตภัณฑ์แบบแบ่งพื้นที่ และมีพนักงานประจำพื้นที่คอยดูแล เพื่อลดระยะเวลา การเดินจัดสินค้า ส่งผลให้การจัดสินค้ามีความรวดเร็ว ลดความผิดพลาด และจัดส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น

รวมทั้งมีการปรับระบบงานให้มีการโอนสินค้าระหว่างสาขาได้ เช่น สินค้าที่คลังสินค้าต้องสั่งสินค้าเก็บไว้ เพื่อส่งให้สาขาที่ขายดี ในขณะที่อีกสาขายังมีสินค้าชนิดเดียวกันนี้อยู่ที่ร้าน ทำให้สินค้าในคลังสินค้าโดยรวมมีส่วนที่เกินความจำเป็น อยู่เมื่อบริหารจัดการคลังสินค้าในภาพรวม ทำให้สามารถโอนสินค้าจากสาขาหนึ่งที่มีสินค้าไปยังสาขาที่ สินค้าขาดได้ ช่วยให้ลดการสั่งสินค้าลงได้อย่างมาก และรวดเร็ว

ร้านยากรุงเทพ ตั้งเป้าขยายสาขา  ดึงเทคโนโลยีช่วยเภสัชกรดูแลสุขภาพ

ปรึกษาทางไกล เภสัชกรให้คำแนะนำ

ชูวิทย์ กล่าวต่อว่าการเจ็บป่วย เลือกเวลาไม่ได้ ร้านยากรุงเทพ จึงต้องเปิด 24 ชั่วโมงเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค การบริหารจัดการของร้านยากรุงเทพ มุ่งเน้นการบริหารจัดการบุคลากร ควบคู่กับการนำนวัตกรรมมาใช้ ลดความสูญเปล่า เพราะช่วงเวลาเกิดโควิด-19 เกิดกรณีสินค้าขาดแคลน เนื่องจากมีการกว้านซื้อ และขายเกินกำไร ทำให้ร้านยากรุงเทพได้มีการจัดระบบพื้นฐาน ช่วยกระจายสินค้าไปให้ผู้ที่จำเป็นต้องใช้ได้รับเชื่อมต่อกับระบบแอปพลิเคชั่นที่มี

ร้านยากรุงเทพได้พัฒนาระบบงานเพื่อรองรับ Telepharmacy หรือการปรึกษาทางไกล โดยมี Call Center ที่มีเภสัชกรคอยให้คำปรึกษา ผ่านทางโทรศัพท์ และช่องทาง Social Media ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งระบบจะมีการโอนให้เภสัชกรของสาขา ที่ว่างจากลูกค้าหน้าร้านมาช่วยตอบลูกค้าทางโทรศัพท์ หรือ Social Media

“Application ร้านยากรุงเทพ จะมีเภสัชกรสาขาให้คำปรึกษากับลูกค้าได้โดยตรง โดยมีเภสัชกร Call Center คอยสนับสนุน และยังมีการร่วมมือกับพันธมิตร ในการนำเทคโนโลยี AI มาช่วยให้เภสัชกรดูแลลูกค้าได้มากขึ้น เป็นการใช้เวลาช่วงที่นั่งรอลูกค้ามาที่ร้านให้เกิดประโยชน์ ลดการรอคอย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในความสูญเปล่า และเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้า โดยไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางมาที่ร้าน โดยผู้ที่ใช้ Application ร้านยากรุงเทพ จะได้รับการบริการจากเภสัชกร ทั้งการให้คำปรึกษา คำแนะนำ และการดูแลจนสินค้าถึงมือลูกค้า” ชูวิทย์ กล่าว

ร้านยากรุงเทพ ตั้งเป้าขยายสาขา  ดึงเทคโนโลยีช่วยเภสัชกรดูแลสุขภาพ

เภสัชกรมีจำกัด พัฒนาเทคโนโลยีช่วย

เป้าหมายของ “ร้านยากรุงเทพ” คือ การพัฒนาธุรกิจให้มีการเติบโตด้วยการนำเทคโนโลยีมาต่อยอด เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงร้านยาคุณภาพให้ได้มากที่สุด และครอบคลุมไปทุกพื้นที่ รวมถึงให้บริการรูปแบบใหม่ๆ ดังนั้นในปีนี้ ร้านยากรุงเทพตั้งเป้าจะขยายเครือข่ายสาขา ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้มากขึ้น พัฒนาฟีเจอร์ บนแอปพลิเคชั่น ให้สามารถใช้งานได้เร็วขึ้น สะดวกมากขึ้น อันนำไปสู่การดูแลสุขภาพของผู้คน

“ร้านขายยามีการเชื่อมต่อกับ HealthTech (เทคโนโลยีด้านสุขภาพ) อื่นๆ ทั้งออนไลน์ และออนไซต์ เพื่อทำหน้าที่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการดูแลสุขภาพได้ง่าย และช่วยเสริมกำลังให้แก่เภสัชกร เพราะเภสัชกรมีจำนวนจำกัด แต่ละปีต้องการเภสัชกรประมาณ 1,800 คน แต่มีเภสัชกรที่สอบใบประกอบวิชาชีพเพียง 1,500 คน และต้องไปทำงานในหลากหลายที่ ทั้งโรงงานยา สถานประกอบธุรกิจ สาธารณสุขการแพทย์ และธุรกิจที่เกี่ยวกับยา จึงต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเภสัชกร” ชูวิทย์ กล่าว

ร้านยากรุงเทพ ตั้งเป้าขยายสาขา  ดึงเทคโนโลยีช่วยเภสัชกรดูแลสุขภาพ

เน้นการดูแลเชิงป้องกัน

ชูวิทย์ กล่าวด้วยว่า ภาพรวมของธุรกิจร้านยา มีการเติบโตค่อนข้างเร็ว ซึ่งร้านยากรุงเทพ ได้ปรับภาพจากการดูแลรักษาไปสู่การดูแลเชิงป้องกันมากขึ้น ตอนนี้มีผู้แข่งขันหน้าใหม่จำนวนมาก ทั้งกลุ่มที่เป็นเภสัชกร หรือกลุ่มธุรกิจอื่นๆ เริ่มหันมาสร้างร้านยาเอง จะเป็นความท้าทายทั้งรูปแบบธุรกิจครอบครัว SMEsและนายทุนมากขึ้น การแข่งขันทำให้เกิดการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพมากขึ้น

“เราอยากเห็นว่าประเทศของเรามียาและเวชภัณฑ์อื่นๆ ที่มีการผลิตภายในประเทศและเพียงพอในการดูแลประชาชน ลดพึ่งพาการนำเข้า เพราะจะทำให้เสี่ยงในการขาดแคลน ร้านขายยาในขณะนี้จึงแตกต่างจากในอดีต ไม่ใช่เพียงเปิดร้านขายยาออนไซต์อย่างเดียว แต่ต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย จะทำอย่างไรไอเดียที่มีอยู่จำนวนมาก เกิดผลเป็นรูปธรรม ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความปลอดภัยแก่ประชาชนได้มากขึ้น”ชูวิทย์ กล่าวทิ้งท้าย

ร้านยากรุงเทพ ตั้งเป้าขยายสาขา  ดึงเทคโนโลยีช่วยเภสัชกรดูแลสุขภาพ

บริหารธุรกิจร้านยาด้วย LEAN

ใช้ในการบริหารงาน จัดการสินค้าคงคลัง ปรับระบบการหมุนเวียนสินค้า ลดระยะเวลา ปรับระบบคลังสินค้าใหม่ โดยจัดเรียงผลิตภัณฑ์แบบแบ่งพื้นที่ และมีพนักงานประจำพื้นที่คอยดูแล เพื่อลดระยะเวลา การเดินจัดสินค้า ส่งผลให้ .การจัดสินค้ามีความรวดเร็ว ลดความผิดพลาด

การจัดส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถส่งสินค้ากระจายไปยังสาขาได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยทีมขนส่งไม่ต้องเสียเวลาตรวจสอบสินค้าร่วมกับพนักงานที่หน้าร้าน สามารถเพิ่มรอบการ ส่งสินค้าจากสัปดาห์ละ 1 รอบ เป็นสัปดาห์ละ 2 รอบ ลดจำนวนการจัดเก็บสินค้า ทั้งที่สาขาและคลังสินค้าลงได้อย่างมาก

ปรับระบบงานให้มีการโอนสินค้าระหว่างสาขาได้ เช่น สินค้าที่คลังสินค้าต้องสั่งสินค้าเก็บไว้ เพื่อส่งให้สาขาที่ขายดี ในขณะที่อีกสาขายังมีสินค้าชนิดเดียวกันนี้อยู่ที่ร้าน ทำให้สินค้าในคลังสินค้าโดยรวมมีส่วนที่เกินความจำเป็น อยู่เมื่อบริหารจัดการคลังสินค้าในภาพรวม ทำให้สามารถโอนสินค้าจากสาขาหนึ่งที่มีสินค้าไปยังสาขาที่ สินค้าขาดได้ ช่วยให้ลดการสั่งสินค้าลงได้อย่างมาก และรวดเร็ว

นำเทคโนโลยี AI มาช่วยให้เภสัชกรดูแลลูกค้าได้มากขึ้น เป็นการใช้เวลาช่วงที่นั่งรอลูกค้ามาที่ร้านให้เกิดประโยชน์ ลดการรอคอย  เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้า โดยไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางมาที่ร้าน โดยได้รับการบริการจากเภสัชกร ทั้งการให้คำปรึกษา คำแนะนำ และการดูแลจนสินค้าถึงมือลูกค้า

ตัวช่วยสำคัญที่ช่วยให้แก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที โดยการตรวจสอบสินค้าในคลังอย่างใกล้ชิด และบริหารบุคลากรอย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงสามารถช่วยให้กระแสเงินสดกลับมาดีขึ้นโดยรวดเร็ว LEAN เป็นหนึ่งในพื้นฐานที่สำคัญให้องค์กรผ่านสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถขยายธุรกิจให้เติบโต และมีรากฐานที่มั่นคงยั่งยืนอีกด้วย

ร้านยากรุงเทพ ตั้งเป้าขยายสาขา  ดึงเทคโนโลยีช่วยเภสัชกรดูแลสุขภาพ