หัวลำโพงศตวรรษใหม่ แหล่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชื่อมวัฒนธรรมกับการค้าจุฬาฯ

จุฬาฯร่วมมือนักวิชาการจาก 4 สถาบันการศึกษา วิจัยอนาคต “หัวลำโพง”พลิกโฉมสู่พื้นที่สร้างสรรค์ อนุรักษ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

“หัวลำโพง” หรือสถานีรถไฟกรุงเทพ เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่คู่กรุงเทพมหานคร มายาวนานกว่า105 ปี ตั้งแต่เริ่มมีการวางรากฐานการคมนาคมในสยามประเทศสมัยรัชกาลที่ 5 แต่นับจากนี้ หัวลำโพงต้องเปลี่ยนรางสู่บทบาทใหม่ เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วางแผนย้ายการให้บริการเส้นทางรถไฟเกือบทั้งหมดไปที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญกับโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง

ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของหัวลำโพงจะเป็นเช่นไร? การรถไฟแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สนับสนุนให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และสถาบันอาศรมศิลป์ ดำเนินการวิจัยเพื่อหาทิศทางอนาคตของหัวลำโพงในศตวรรษใหม่

หัวลำโพงศตวรรษใหม่ แหล่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชื่อมวัฒนธรรมกับการค้าจุฬาฯ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก ประธานสาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการแผนงานการศึกษาเพื่อวางกรอบ “ โครงการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)” กล่าวว่าแผนการศึกษาโครงการนี้เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ เน้นวิจัยคุณค่าเชิงอนุรักษ์และนำเสนอแนวทางการใช้ประโยชน์พื้นที่ ทั้งนี้กระบวนการวิจัยเปิดให้หลายภาคส่วนของสังคมมาร่วมกันกำหนดทิศทางอนาคตของหัวลำโพงด้วย

“การวิจัยครั้งนี้ประชาชนเป็นทั้ง “ผู้ร่วมคิด” คือมีส่วนร่วมในการออกแบบในฐานะ“ผู้ใช้ประโยชน์” เพราะทุกคนสามารถมาใช้ประโยชน์ได้ และเป็น”ผู้รับผิดชอบ” คือเมื่อใช้ประโยชน์แล้วต้องช่วยกันรักษสมบัติของคนไทยทุกคน จากการวิจัยครั้งนี้ ชัดเจนว่าประชาชนเห็น “สถานีรถไฟหัวลำโพง” เป็นของคนไทย    ทุกคน” ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ กล่าว

แนวทางแปลง“หัวลำโพง” ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งอนาคต

จากแนวทางพัฒนาสถานีรถไฟหัวลำโพงที่ได้จากการวิจัยระยะที่ 1 ต่อยอดสู่การค้นหาลักษณะการใช้ประโยชน์ของอาคารและพื้นที่ภายนอกหัวลำโพงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้และพื้นที่สาธารณะที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนที่หลากหลาย ทั้งนี้ แผนการศึกษาในระยะที่ 2 ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย

หัวลำโพงศตวรรษใหม่ แหล่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชื่อมวัฒนธรรมกับการค้าจุฬาฯ

1. การศึกษาเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่สถานีรถไฟ   หัวลำโพง ได้ข้อเสนอลักษณะการใช้งานและประโยชน์ของพื้นที่และอาคารต่างๆ 3 รูปแบบคือ

แบบที่ 1 สัดส่วนของพื้นที่ที่ใช้เป็นพื้นที่สาธารณะและพื้นที่เชิงพาณิชย์มากที่สุด มีสัดส่วนเท่ากันคือร้อยละ 30

แบบที่ 2 สัดส่วนของพื้นที่ที่ใช้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30 รองลงมาคือ        ลานกิจกรรม พื้นที่สร้างสรรค์ และพื้นที่อนุรักษ์ ในสัดส่วนเท่าๆ กันคือร้อยละ 18

แบบที่ 3 สัดส่วนของพื้นที่ที่ใช้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 40 รองลงมาคือ         ลานกิจกรรมและพื้นที่อนุรักษ์ในสัดส่วนเท่าๆ กันคือร้อยละ 18

ภาคส่วนสังคมหลากหลาย ร่วมวาดฝันหัวลำโพง

การวิจัยระยะที่ 2 ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและ2. การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการด้านการลงทุนและความเป็นไปได้ทางการเงิน       เพื่อรองรับการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพพื้นที่หัวลำโพง โดย ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ ขยายความว่า “เมื่อพิจารณาลักษณะการใช้งานและประโยชน์ของพื้นที่และอาคารต่างๆ พบว่าทั้ง 3 แบบ (ตามผลการศึกษาวิจัยในส่วนที่ 1) เป็นทางเลือกที่คนในสังคมยอมรับได้ แต่อาจจะต้องมีการชดเชยในสิ่งที่คนในสังคมสูญเสียไป เช่น บางคนอาจไม่รู้สึกว่าได้รับประโยชน์จากการใช้พื้นที่เป็นศูนย์การค้า”

3. การศึกษาระบบโลจิสติกส์เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่หัวลำโพงแบ่งเป็น 2 ส่วนย่อย คือ ระบบเชื่อมโยงพื้นที่ภายในสถานีรถไฟหัวลำโพง และระบบโลจิสติกส์จากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปยังสถานที่ต่าง ๆ ด้วยรูปแบบการเดินทางที่หลากหลาย อาทิ รถประจำทาง รถแท็กซี่ รถไฟฟ้า BTS และ MRT และเรือ   โดยมีสถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นจุดศูนย์กลางหรือจุดเชื่อมต่อที่สำคัญ การศึกษายังได้นำเสนอตัวอย่าง 4 เส้นทางท่องเที่ยวหัวลำโพงและชุมชนใกล้เคียง (Virtual Tour)  https://hlpvirtualtour.com

หัวลำโพงศตวรรษใหม่ แหล่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชื่อมวัฒนธรรมกับการค้าจุฬาฯ

นอกจากนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย นักลงทุน นักธุรกิจ ผู้ประกอบการในพื้นที่ และเครือข่ายธุรกิจ  เพื่อสังคมกรุงเทพฯ สามารถนำผลการวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการด้านการลงทุนและความเป็นไปได้ทางการเงินไปใช้เป็นแนวทางในการร่วมลงทุนในพื้นที่หัวลำโพง ทั้งการลงทุนในการจัดการท่องเที่ยวและการประกอบการเชิงสร้างสรรค์รวมถึงคนในชุมชนรอบสถานีรถไฟหัฃฃลำโพงสามารถนำผลการวิจัยไปขับเคลื่อนเป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนรอบสถานีรถไฟหัวลำโพงได้อีกด้วย

หัวลำโพงศตวรรษใหม่ แหล่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชื่อมวัฒนธรรมกับการค้าจุฬาฯ

ผู้สนใจสามารถเข้าชมเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ได้ตามลิงก์ต่อไปนี้

นิทรรศการ “หัวลำโพงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน”

Exhibition

เนื้อหาในนิทรรศการ ประกอบด้วย

1) เรื่องราวความเป็นมาของสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

Exhibition 1

2) ผลการศึกษา: กรอบการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

Exhibition 2

3) เวทีสาธารณะ ความคิดเห็นต่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

Exhibition 3

4) ผลการประกวดการออกแบบ “การอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

Exhibition 4

5) virtual  tour เส้นทางท่องเที่ยวหัวลำโพงและชุมชนใกล้เคียง

หน้าแรก