พจนานุกรมศัพท์ข้อมูลมหัต (20 เล่ม) ฉบับเปรียบเทียบหลายภาษาฉบับแรกของโลกเปิดตัวหนังสือ ณ เมืองกุ้ยหยาง จีน

วันที่ 28 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า พจนานุกรมศัพท์ข้อมูลมหัต ฉบับเปรียบเทียบหลายภาษาฉบับแรกของโลก (20 เล่ม)  เปิดตัวเป็นครั้งแรก ณ งานมหกรรมอุตสาหกรรมข้อมูลมหัตนานาชาติจีน ปีค.ศ. 2021 ณ เมืองกุ้ยหยาง โดยมีเทศบาลเมืองกุ้ยหยาง คณะกรรมการตรวจทานศัพท์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติจีน และบมจ. สื่อสิ่งพิมพ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีนได้ร่วมกันจัดพิธีเปิดตัว ภายในพิธีดังกล่าวยังได้จัดพิธีออนไลน์เปิดตัว “แพลทฟอร์มที่ให้บริการข้อมูลมหัตหลายภาษาซึ่งทั่วโลกสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกัน” และการประชุมสุดยอดวิชาการนานาชาติคลังสมองดิจิทัลแห่งประเทศจีน    

พจนานุกรมศัพท์ข้อมูลมหัต ฉบับนี้วิจัยและรวบรวมโดยห้องปฏิบัติการหลักทางยุทธศาสตร์ข้อมูลมหัต ซึ่งเป็นคลังสมองชั้นสูงรูปแบบใหม่แห่งชาติจีน โดยมีศาสตราจารย์เหลียนอวี้หมิง สมาชิกคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาแห่งชาติ และผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการหลักทางยุทธศาสตร์ข้อมูลมหัตดำรงตำแหน่งเป็นบรรณาธิการใหญ่ และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์วิทยาศาสตร์   พจนานุกรมศัพท์ข้อมูลมหัต นี้ เป็นพจนานุกรมฉบับแรกของโลกที่รวบรวมคำศัพท์เฉพาะทางข้อมูลมหัตไว้อย่างรอบด้าน โดยจัดทำเป็นหลายภาษา และใช้ระบบอัจฉริยะ   ทั้งยังเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อส่งเสริมการสื่อสารข้ามภาษาและข้ามพรมแดนของระบบคำศัพท์มาตรฐานข้อมูลมหัตในขอบเขตที่กว้างขึ้น รวมถึงเป็นความสำเร็จด้านนวัตกรรมอันยิ่งใหญ่ของ “โครงการศัพทานุกรมข้อมูลมหัต” ต่อจาก หนังสือ ศัพทานุกรมข้อมูลมหัต   และเป็นก้าวสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงทฤษฎีของเขตนำร่องระดับชาติของข้อมูลมหัต (กุ้ยโจว)

พจนานุกรมศัพท์ข้อมูลมหัต  มีลักษณะเด่น 4 ประการ ประการแรกคือการนำเสนอในลักษณะพจนานุกรมโดยเน้นที่การพัฒนาขอบเขตข้อมูลมหัตทั่วโลก จัดทำระบบความรู้ข้อมูลมหัตให้เป็นหมวดหมู่รอบด้าน และเสนอโครงสร้างคำศัพท์ทั้งเก้าหมวดได้แก่  พื้นฐานข้อมูลมหัต ยุทธศาสตร์ข้อมูลมหัต เทคโนโลยีข้อมูลมหัต เศรษฐกิจข้อมูลมหัต การเงินข้อมูลมหัต การกำกับดูแลข้อมูลมหัต มาตรฐานข้อมูลมหัต ความปลอดภัยข้อมูลมหัต และกฎหมายว่าด้วยข้อมูลมหัต ซึ่งได้สร้างระบบคำศัพท์เฉพาะทางวิชาการที่มีเอกภาพ ถ่ายทอดในหลายภาษา และสอดคล้องกับหลักการการใช้คำศัพท์ในระดับสากล

ประการที่สอง คือ การตรวจทานที่มีความน่าเชื่อถือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญของคณะกรรมการศัพท์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติจีนได้ตรวจทานและเผยแพร่การใช้คำศัพท์ในหนังสือชุดนี้ตาม หลักการและวิธีการพิจารณาคำศัพท์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคณะกรรมการ ฯ

ประการที่สาม คือ การเปรียบเทียบคำศัพท์ในภาษาจีนกับภาษาต่างประเทศ  พจนานุกรมฉบับนี้ได้แบ่งเล่มเปรียบเทียบคำศัพท์ในภาษาจีนกับภาษาต่างประเทศ จำนวน 20 ภาษา ได้แก่ ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาลี ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย ภาษาสเปน ภาษาเขมร ภาษาฮิบรู ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลเซีย ภาษามองโกล ภาษาเปอร์เซีย ภาษาเซอร์เบีย ภาษาไทย ภาษาตุรกี และภาษาอูรดู

ประการที่สี่ คือ ประสบการณ์อัจฉริยะ โดยบูรณาการสื่อการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เช่น กราฟความรู้ หนังสือเสียง และฟังก์ชันลิงก์เชื่อมแพลทฟอร์ม  เพื่อให้ได้ประสบการณ์การอ่านที่ชาญฉลาด บนแพลตฟอร์ม และเป็นระบบ

ห้องปฏิบัติการหลักทางยุทธศาสตร์ข้อมูลมหัตได้ใช้ลักษณะเด่นสี่ประการข้างต้นเป็นพื้นฐานในการวิจัยและริเริ่ม “แพลทฟอร์มที่ให้บริการข้อมูลมหัตหลายภาษาซึ่งทั่วโลกสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกัน” รวมถึง ระบบแพลทฟอร์มอัจฉริยะคำศัพท์หลายภาษา อาทิ “แพลทฟอร์มคลาวด์คำศัพท์ข้อมูลมหัต” “แพลทฟอร์มข้อมูลมหัตเส้นทางสายไหม” “แพลทฟอร์มคำศัพท์ข้อมูลมหัตออนไลน์” “ดัชนีคำศัพท์ข้อมูลมหัตกุ้ยหยาง” และ “ห้องสมุดคำศัพท์เฉพาะทางข้อมูลมหัต”  ให้บริการความรู้ข้อมูลมหัตหลายภาษาเพื่อสาธารณประโยชน์สากล และไม่มีค่าใช้จ่าย ส่งเสริมการใช้งานอย่างแพร่หลายและเผยแพร่ผลงานของโครงการศัพทานุกรมข้อมูลมหัตในระดับสากล รวมถึงสร้างคุณูปการด้านการพัฒนาอารยธรรมดิจิทัลทั่วโลก

การวิจัยและรวบรวม พจนานุกรมศัพท์ข้อมูลมหัต นี้ถือเป็นผลงานสร้างสรรค์ใหม่ที่ใช้ความรู้สหสาขาวิชา ทั้งยังมีความเฉพาะทางและเปิดกว้าง เป็นการสร้างระบบมาตรฐานของห้องปฏิบัติการหลักทางยุทธศาสตร์ข้อมูลมหัตโดยใช้ “โครงการศัพทานุกรมข้อมูลมหัต” เป็นหัวใจสำคัญ ทั้งยังเป็นการสร้างระบบทฤษฎีที่ใช้หนังสือ “ไตรภาคอารยธรรมดิจิทัล” ได้แก่  ข้อมูลบล็อก กฎหมายสิทธิข้อมูล และบล็อกเชนอำนาจอธิปไตย เป็นสัญลักษณ์  ความสำเร็จเชิงรุกและสร้างสรรค์ครั้งสำคัญอีกประการหนึ่งในการสร้างระบบการสื่อสารสากลที่มี “วัลเลย์ข้อมูลจีน” เป็นหลักสำคัญ และได้รับการแนะนำอย่างเป็นเอกฉันท์จากคณะกรรมการศัพท์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติจีนและพันธมิตรองค์กรวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”

คณะกรรมการศัพท์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติจีนเห็นว่าการจัดพิมพ์ พจนานุกรมศัพท์ข้อมูลมหัต  ได้พัฒนาสิทธิทางภาษาสากลด้านข้อมูลมหัตของประเทศจีนและสิทธิการบัญญัติกฎเกณฑ์อย่างใหญ่หลวง ทั้งยังมีความหมายอย่างยิ่งยวดในด้านการนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพสูงด้านข้อมูลมหัตของประเทศจีน ตลอดจนทั่วโลก และในด้านส่งเสริมการเผยแพร่และความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านข้อมูลมหัตในระดับสากล     พันธมิตรองค์กรวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” แนะนำว่า พจนานุกรมศัพท์ข้อมูลมหัต เป็นต้นแบบที่เชื่อถือได้ที่จะทำให้ทั่วโลกตลอดจนประเทศและภูมิภาคตาม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เข้าใจ “ดิจิทัลไชน่า” และสะท้อนถึงความห่วงใยอันลึกซึ้งที่มีต่อชะตาร่วมกันของมนุษยชาติ