เปิดอัตราดอกเบี้ย ‘สินเชื่อ-เงินฝาก’ 10ธนาคารพาณิชย์ก่อนปรับดอกเบี้ย

     ล่าสุดคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เพิ่งปรับ “อัตราดอกเบี้ยนโยบาย”ไปหมาด ด้วยเสียง 6 ต่อ 1 เสียงให้ปรับดอกเบี้ยขึ้น 0.25% เป็น 0.75% จากระดับ 0.50% หลังภาพรวมเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวชัดเจนขึ้น จากการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวได้ปกติ

       อีกทั้งการปรับดอกเบี้ยของกนง.ครั้งนี้ ปัจจัยสำคัญ เพื่อต้องการคุมการคาดการณ์ “เงินเฟ้อ”ไม่ให้ไปไกล สะท้อนหน้าที่หลักของธนาคารกลาง ในการคุมเสถียรภาพด้านราคา การดูแลเงินเฟ้อ ควบคู่ไปกับการดูแลเศรษฐกิจ และระบบการเงินให้มีเสถียรภาพ

เปิดอัตราดอกเบี้ย ‘สินเชื่อ-เงินฝาก’ 10ธนาคารพาณิชย์ก่อนปรับดอกเบี้ย
    ซึ่งหากเป็นภาวะปกติ ธนาคารพาณิชย์ จะปรับขึ้น “ดอกเบี้ย”ทันทีหลังกนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ในวันเดียวกัน หรือวันถัดไป สอดรับกับกระดานดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น ทั้งดอกเบี้ยเงินฝาก และดอกเบี้ยสินเชื่อ แต่ปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า อยู่ในสภาวะที่ไม่ปกติ เพราะวันนี้ มีประชาชนค่อนประเทศ ที่ยังลำบาก และมีกลุ่มเปราะบางจำนวนมาก ที่อ่อนไหวต่อต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น
    โดย “ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)มีการคาดการณ์ว่า การ “ส่งผ่าน”ดอกเบี้ยครั้งนี้ไปสู่ธนาคารพาณิชย์ อาจทำได้ไม่มากนัก แต่อาจเห็นการส่งผ่านบ้าง แต่ไม่ใช่ 1ต่อ1 ซึ่งหากเทียบกับภาวะปกติ ที่มักจะเห็นการส่งผ่านดอกเบี้ยนโยบายราว 50% หากเทียบกับ การปรับดอกเบี้ยของกนง.ทั้งหมด

     ล่าสุด ก็ยังไม่เห็น “ธนาคารพาณิชย์” ปรับดอกเบี้ย เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อาจเป็นไปได้ว่า ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่รอดูท่าที จาก 4แบงก์ใหญ่

      คือธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ธนาคารกรุงเทพ(BBL) ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา(BAY)ธนาคารกรุงไทย(KTB) ก่อนขยับดอกเบี้ยตาม
 แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีการปรับดอกเบี้ยตามกนง.โดยทันที

     แต่เริ่มเห็น “ธนาคารพาณิชย์”มีการออกมาตรการช่วยช่วยเหลือลูกหนี้ออกมาเพิ่มเติมเช่น ธนาคารกสิกรไทย ที่ออกมาลดลดอัตราผ่อนสินเชื่อลง 10% สำหรับธุรกิจ ขณะที่ธนาคารกรุงเทพ ก็ได้เร่งเข้าไปช่วยเหลือลูกหนี้ทุกกลุ่มผ่านทุกมาตรการที่มีอยู่ เพื่อหวังเข้าไปช่วยเหลือลูกหนี้ให้ผ่านพ้นวิกฤติ จากความเปราะบางด้านรายได้ที่ยังคงมีต่อเนื่อง 
      ทั้งนี้หากสำรวจอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ ในปัจจุบัน พบว่าใกล้เคียงกันทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้

     โดยเริ่มต้นที่เงินฝากออมทรัพย์ ที่เป็นบัญชีเงินฝากพื้นฐาน ที่โดยรวม คงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.25% ทั้ง ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรี ธนาคารเกียรตินาคินภัทร(KKP) ธนาคารทิสโก้(TISCO) ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์(LH BANK)
ยกเว้น ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต(TTB) ที่ให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออทรัพย์ที่ 0.125% และธนาคารซีไอเอ็มบีไทย(CIMBT)ที่ให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ 0.20% 

      ด้าน “ดอกเบี้ยเงินกู้” พบว่าส่วนใหญ่แตกต่างกัน ทั้งอัตราดอกเบี้ยรายใหญ่ชั้นดี(MLR) ดอกเบี้ยรายใหญ่ชั้นดีเบิกเกินบัญชี(MOR) และดอกเบี้ยรายย่อย(MRR) 

       เริ่มต้นที่ดอกเบี้ย MLR โดยแบงก์ที่ให้อัตราดอกเบี้ย ที่ต่ำที่สุด คือ ไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย ให้ดอกเบี้ยเท่ากันที่ 5.25% ถัดมาคือ กสิกรไทย 5.47% และกรุงศรี 5.58%

       ส่วนทีเอ็มบีธนชาต  คิดดอกเบี้ยอยู่ที่ 6.125% และ ซีไอเอ็มบีไทย 6.35% ,ทิสโก้ 6.45% ,เกียรตินาคินภัทร คิดดอกเบี้ยสินเชื่ออยู่ที่ 6.525% และแลนด์แอนด์เฮ้าส์ที่ 6.625% 
      ถัดมาคือ ดอกเบี้ย MOR ส่วนใหญ่แบงก์ใหญ่ดอกเบี้ยใกล้กัน ทั้งไทยพาณิชย์ 5.84% กรุงเทพ 5.87% กสิกรไทย 5.84% กรุงไทย 5.82% กรุงศรี 5.95%

     ขณะที่แบงก์ขนาดกลาง และแบงก์ขนาดเล็ก ดอกเบี้ย MOR เริ่มสูงขึ้น โดยทีเอ็มบีธนชาต 6.15% เกียรตินาคินภัทร และทิสโก้  6.45%  ขณะที่ซีไอเอ็มบีไทย 6.85% และแลนด์แอนด์เฮ้าส์ 7.25% 
     สุดท้าย ดอกเบี้ยรายย่อย MRR โดย 3 แบงก์ใหญ่ ให้ดอกเบี้ยใกล้เคียงกัน ไทยพาณิชย์ที่ 5.995% กรุงเทพ 5.95% กสิกร 5.97%

      ขณะที่กรุงไทย 6.22% กรุงศรี 6.05% ทีเอ็มบีธนชาต 6.28% เกียรตินาคินภัทร 6.65% ทิสโก้ 6.725% และแลนด์แอนด์เฮ้าส์ และซีไอเอ็มบีไทยที่ 7.35% 
       ดังนั้นหลังจากนี้ คงต้อง “จับตา”ว่า ธนาคารพาณิชย์ จะเริ่มทยอยออกมา ขยับดอกเบี้ยหรือไม่ หรืออาจเห็นการขยับดอกเบี้ยเฉพาะบางกลุ่ม เช่นสินเชื่อรายใหญ่ เพราะจากที่ผ่านมา หลายธนาคารมีการให้ดอกเบี้ยบนต้นทุนถูกเกินจริง ที่อาจเห็นกลุ่มนี้ ถูกปรับดอกเบี้ยขึ้นกลุ่มแรกๆ

  มมม ซึ่งต่างกับดอกเบี้ยรายย่อยที่ธนาคารพาณิชย์เริ่มส่งสัญญาณว่าอาจ “ตรึง”ดอกเบี้ย เพื่อช่วยลูกหนี้รายย่อย ที่ยังเผชิญกับความเปราะบางด้านรายได้ จากวิกฤติโควิด-19 ค่อนข้างมาก